ขอน้อมอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เว็บนี้สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว



ร่วมเติมเต็มทุกหัวใจของคนที่มีรักได้ที่นี่

แล้วคุณจะรู้ว่า
ปรารถนาจะเป็นผู้สั่งการ
หัวใจคือผู้เร่งเร้าให้รุ่มร้อน
เรือนกายคือผู้ปฏิบัติตามปรารถนา
ทุกสิ่งจะเป็นไปตามครรลองของมันเองทุกประการ

ที่นี่จะรวมบทวิจารณ์ รวมถึงข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่างๆไว้
โดยเฉพาะที่มาจากความคิดเห็นของผู้แต่งเอง
ทั้งนี้ผู้แต่งจะไม่ขอรับผิดชอบใดๆ อันเกิดจากการนำข้อความดังกล่าวที่ปรากฏในบล็อกไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ติชม กันเยอะๆนะคะ
ขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ


ด้วยความปราถนาดี

R-ka



ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าชมได้อีกบล็อกนึง คือ

http://www.rka-state.vox.com/


Mariah Carey - Bye Bye

lay on my high-heels

lay on my high-heels
งานบายเนียรปี2008 ค่ะ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

นโยบายการเงิน



นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป (ไม่ใช่รูปนี้นะคะ)ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้อุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ำมันและโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวในระยะต่อไปอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคา สินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่กำลังฟื้นตัวและการส่งผ่านต้นทุน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้าคณะกรรมการฯ เห็นว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ความไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน) ไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี


ความเป็นมาและกรอบนโยบายการเงิน
ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของธนาคารกลาง และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งจะกำหนดโดยการตราพระราชกฤษฎีกา ในกฎหมายนี้ถึงแม้มิได้ระบุเรื่องนโยบายการเงินอย่างชัดแจ้ง แต่ก็กำหนดให้คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจในการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธปท. เรียกเก็บจากการเป็นแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the last resort) ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท.ในการซื้อขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ธปท.มิได้กระทำเพื่อค้ากำไร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กฏหมายมีบทบัญญัติโดยอ้อมให้ธปท.เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดเจน และในทางปฏิบัติธปท.จะดำเนินธุรกิจของธนาคารกลางโดยคำนึงถึง เสถียรภาพทางด้านการเงินและระบบการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นโยบายการเงินของไทยแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ
1). การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 - มิถุนายน 2540) นโยบายนี้เริ่มใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยช่วงแรกใช้วิธีผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ และเปลี่ยนไปใช้ระบบผูกค่าเงินบาท กับตระกร้าเงินในช่วงพฤศจิกายน 2527 - มิถุนายน 2540 ภายใต้ระบบตะกร้าเงินนี้ ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ
2). การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Monetary Targeting) ( กรกฎาคม 2540 - พฤษภาคม 2543) หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และได้มีการกำหนด Policy Anchor แบบใหม่ คือ Monetary Targeting ซึ่งกำหนดเป้าหมายทางการเงิน อิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ หรือ ดุลการชำระเงิน และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้ (Ultimate Objectives) จากการประเมินภาพเศรษฐกิจดังกล่าว ธปท.สามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป
3). การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) (23 พฤษภาคม 2543 - ปัจจุบัน) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาปัจจัยต่างๆในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็น เป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจาก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน ดังนั้น ธปท. จึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน
การดำเนินนโยบายการเงิน ในกรอบ Inflation Targeting นั้น ธปท. ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบันไปก่อน โดยอาศัยอำนาจผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินชุดแรกขึ้น เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิป็นกรรมการ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 9 ท่าน ในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตลอดจนพัฒนากรอบ Inflation Targeting ให้ เหมาะสมกับประเทศไทย
แต่สำหรับในอนาคตนั้น ได้มีการยกร่าง พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจธปท.ในการกำหนดนโยบายการเงินอย่างมีอิสระ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการรัฐสภาและเมื่อมีการตราเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะทำให้กรอบนโยบายการเงินมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และล่าสุดในวันที่ 2 กันยายน 2546 ธปท. ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินชุดใหม่ โดยเป็นบุคคลภายใน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นที่ปรึกษา 4 คน
เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน

เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) 2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) 3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities)
1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายโดยเฉลี่ยรายปักษ์ (ซึ่งเริ่มต้นในวันพุธและสิ้นสุดในวันอังคารของสัปดาห์ที่สองถัดมา) เป็นสัดส่วนต่อค่าเฉลี่ยของฐานเงินฝากหรือหนี้สินในปักษ์ก่อนหน้า และสามารถโอนเงินสำรองบางส่วนข้ามปักษ์ได้
ฐานเงินฝาก/หนี้สินที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรง ได้แก่ ยอดรวมเงินฝากทุกประเภท ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกำหนดใน 1 ปี และยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรหรือมีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงในปัจจุบัน อัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเท่ากับร้อยละ 6 ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังต่อไปนี้
1. เงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 (โดยในส่วนนี้ สามารถนับรวมเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ได้ไม่เกินร้อยละ 0.2)
2. เงินสดในมือธนาคารพาณิชย์ไม่เกินร้อยละ 2.5 และ
3. หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันในส่วนที่เหลือ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องจะคำนวณจากค่าเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดสินทรัพย์ทุกสิ้นวันในปักษ์นั้น การใช้ค่าเฉลี่ยนี้ ช่วยให้การบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน
การโอนสินทรัพย์สภาพคล่องข้ามปักษ์ (Carry-Over Provision) จะกระทำได้ในส่วนที่เป็นเงินฝากที่ ธปท. (เงินสำรอง) เท่านั้น โดยสามารถโอนข้ามปักษ์ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินสำรองที่ต้องดำรง การโอนเงินสำรองข้ามปักษ์ทำได้ทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์สามารถดำรงเงินฝากที่ ธปท. ได้ต่ำกว่าที่กำหนดในปักษ์นี้ และชดเชยปริมาณเงินสำรองที่ขาด ในปักษ์ถัดไป ในขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ก็สามารถโอนเงินสำรองส่วนที่ดำรงเกินในปักษ์นี้ ไปนับเป็นส่วนหนึ่งของเงินสำรองที่ต้องดำรงในปักษ์ถัดไปได้ การโอนเงินสำรองข้ามปักษ์ได้จะช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในช่วงวันสิ้นปักษ์ได้ดี

2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) ในการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน ธปท. จะปรับสภาพคล่องโดยการเข้าทำธุรกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับเงินสำรองของระบบสถาบันการเงิน (Banks' Reserves หรือ เงินฝากของสถาบันการเงินที่ ธปท.) และมีผลต่อเนื่องถึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน OMOs เป็นเครื่องมือหลักในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในการดูแลให้สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอต่อความต้องการของระบบธนาคารพาณิชย์ในการดำรงเงินสำรอง (สินทรัพย์สภาพคล่องในส่วนที่เป็นเงินฝากที่ ธปท.) และการชำระบัญชี (Demand for Settlement Balance)
ธปท. ดำเนินการผ่านเครื่องมือ OMOs หลัก 4 ช่องทาง คือ
2.1 การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Operations)
ธปท. ทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตร (ซึ่งเปรียบเสมือนกับการกู้เงิน หรือ การให้กู้เงิน โดยมีพันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน) เพื่อปรับสภาพคล่องแบบชั่วคราว โดยในปัจจุบัน ธปท. ทำธุรกรรมนี้ทั้งกับกลุ่มสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าของ ธปท. (Primary Dealers) และผ่านตลาดซื้อคืนของ ธปท.
ตลาดซื้อคืนของ ธปท.
ตลาดซื้อคืนของ ธปท. เป็นช่องทางหลักในการทำ OMOs โดย ธปท. จะดูดหรือปล่อยสภาพคล่องผ่านตลาดนี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในขณะเดียวกัน ธปท. ก็ยังทำหน้าที่ เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ จึงเท่ากับเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ (Matched-Principal Broker)
ธปท. ดำเนินการผ่านตลาดซื้อคืนมาเป็นเวลากว่า 25 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตลาดซื้อคืนในเดือนมีนาคม ปี 2522 การที่ ธปท. ทำหน้าที่เป็น matched-principal broker เท่ากับจำกัดความเสี่ยงทางด้านคู่ค้า (Counterparty Risk) ของสมาชิกตลาดซื้อคืนไปทั้งหมด โดยวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งตลาดซื้อคืนในขณะนั้น ก็เพื่อสร้างตลาดที่สถาบันการเงินสามารถใช้ปรับสภาพคล่องได้โดยสะดวก
ตลาดซื้อคืนดำเนินการโดยใช้ระบบการจับคู่คำเสนอซื้อขายอย่างต่อเนื่อง(Continuous Matching) ตามลำดับการเสนอก่อนหลัง (First-Come First-Serve) สมาชิกตลาดซื้อคืนจะโทรศัพท์มาที่ ธปท. เพื่อเสนอซื้อหรือเสนอขาย ระหว่างชั่วโมงซื้อขายประจำวัน (15.30 - 16.30 น.) โดยแจ้งจำนวนเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาของธุรกรรมที่ต้องการกู้/ให้กู้ ระบบจะจับคู่การเสนอซื้อและเสนอขายอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ร่วมตลาดสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยระหว่างชั่วโมงซื้อขายได้ แบบ Real-Time จากบริการข่าวตามสาย เช่น Reuters หน้า BOT15 และ web site ของ ธปท.
สมาชิกตลาดซื้อคืนในปัจจุบันมีจำนวน 58 ราย สถาบันการเงินที่มีสิทธิ์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกตลาดซื้อคืนได้ คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของตลาดซื้อคืน โดยในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ต้องหาเงินเพื่อใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือสถาบันการเงิน จึงกลายเป็นผู้กู้รายใหญ่ในตลาดซื้อคืน สำหรับพันธบัตรที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ในตลาดซื้อคืนประกอบด้วยพันธบัตรภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท. คิดธรรมเนียมค่านายหน้า (Principal Broker Fee) ร้อยละ 0.03 ต่อปีของมูลค่าธุรกรรม ธปท. ใช้ราคาตลาดในการคำนวณมูลค่าของพันธบัตรที่นำมาเป็นหลักประกัน โดยมีการคิดอัตราส่วนลด (Haircuts หรือ Initial Margins) ตามระยะเวลาของ (Maturity) ธุรกรรม และประเภทของพันธบัตร ธปท. เป็นผู้บริหารพันธบัตรที่ใช้เป็นหลักประกันให้แก่สมาชิก โดยพันธบัตรนั้นจะต้องอยู่ใน RP Pool และจะถูกกันไว้ว่าติดภาระเมื่อพันธบัตรนั้นถูกนำมาใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินในตลาดซื้อคืน (กล่าวคือ จะไม่มีการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของพันธบัตรไปเป็นผู้ให้กู้) สมาชิกที่ต้องการกู้เงินจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการโอนพันธบัตรที่จะใช้เป็นหลักประกันเข้า RP Pool
ระยะเวลาของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน ได้แก่ 1 วัน 7 วัน 14 วัน 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน โดยระยะที่มีธุรกรรมหนาแน่นคือ 1 วัน การชำระราคาจะเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่ทำ ธุรกรรม หลังจากชั่วโมงซื้อขายสิ้นสุดแล้ว
การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาค
เดือนธันวาคม 2543 ธปท. เริ่มทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนของธปท. ในเดือนธันวาคม 2543 ธปท. เริ่มทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนของธปท. โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกระตุ้นและพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยรองรับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ในอนาคต ที่จะลดการทำ OMOs ผ่านตลาดซื้อคืนของ ธปท. นอกจากนี้ การทำธุรกรรมซื้อคืนแบบทวิภาคียังเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการทำ OMOs ผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร
ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีจะกระทำผ่าน Bilateral Primary Dealers (PDs) ที่ ธปท. แต่งตั้งขึ้น โดย ธปท. จะแจ้งให้ Bilateral PDs ทราบถึงรายละเอียดของธุรกรรมที่ ธปท. ประสงค์จะทำในวันนั้น (ปล่อยหรือดูดสภาพคล่อง ที่ระยะเวลาเท่าใด) ก่อนเวลา 9.30 น. ผ่าน Web Portal (ช่องทางสื่อสารผ่านอินเตอร์เนตที่ปลอดภัย) PDs มีเวลา 15 นาทีในการเสนอซื้อหรือขายพันธบัตร และ ธปท. จะแจ้งผลการประมูลภายใน 10.00 น. การชำระราคาและโอนพันธบัตรจะต้องเสร็จสิ้นภายใน 14.00 น. ของวันเดียวกัน
ธปท. ทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีได้ทั้ง 2 ลักษณะ คือ Fixed-Rate Tender และ Variable-Rate Tender โดยหาก ธปท. ประสงค์จะทำธุรกรรมระยะ 1 วัน ธปท. จะกู้หรือให้กู้ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่านั้น (Fixed-Rate Tender) เพื่อเป็นการเสริมการส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกรณีนี้ PDs จะเสนอซื้อขายโดยระบุเพียงปริมาณเท่านั้น แต่หาก ธปท. ต้องการดูดหรือปล่อยสภาพคล่องในระยะอื่นๆ PDs จะเสนอซื้อขายเข้ามา โดยระบุทั้งปริมาณและอัตราดอกเบี้ย
ธปท. ได้ออกแบบธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีนี้ ให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล เช่น การคิดส่วนลด (Haircuts) และการเรียก Margin เพิ่ม (Margin Calls) และการปรับมูลค่าพันธบัตรตามราคาตลาด (Marking to Market) เป็นต้น
ธปท. มุ่งที่จะทยอยเพิ่มความสำคัญของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีในการทำ OMOs ในการนี้ ธปท. ได้ทำธุรกรรมดังกล่าวบ่อยครั้งขึ้นและในจำนวนที่มากขึ้น และเริ่มทำธุรกรรมทุกวันตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ปริมาณธุรกรรม Bilateral repo ในปี 2549 เท่ากับ 2,652,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน เทียบกับปีก่อนหน้าที่ธุรกรรม Bilateral repo มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.6 ของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน โดย ธุรกรรมส่วนใหญ่เป็นประเภท 1 วัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 ของธุรกรรม Bilateral repo ทั้งหมด ในขณะที่สัดส่วนของธุรกรรมประเภท 7 วัน และ 14 วันอยู่ที่ร้อยละ 35 และ 20 ตามลำดับ

2.2 การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล
ธปท. สามารถปรับสภาพคล่องในระบบเป็นการถาวรโดยการซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลกับ Outright Primary Dealers โดยปกติ ธปท. จะปล่อยสภาพคล่อง ผ่านช่องทางนี้เพื่อรองรับเงินสดหมุนเวียนในระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างถาวรตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน ธปท. สามารถทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลได้ดีขึ้น จากการที่ตลาดตราสารหนี้ไทยได้พัฒนาขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
ในการทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดนี้ ธปท. จะแจ้งให้ Outright PDs ทราบผ่านระบบ Reuters Dealing ก่อนเวลา 10.00 น. ว่า ธปท. มีความประสงค์จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์รุ่นใดในวันนั้น โดย PDs มีเวลา 30 นาทีในการยื่นข้อเสนอซื้อขายโดยต้องระบุปริมาณและอัตราผลตอบแทน (yields) ธปท. ใช้ระบบ multiple-priced auction ในการจัดสรร และจะแจ้งผลภายในเวลา 12.00 น. การโอนกรรมสิทธิ์และการชำระราคาจะเกิดขึ้นใน 2 วันถัดมา แม้ว่าหลักทรัพย์ที่ ธปท. สามารถซื้อขาดขายขาดได้จะรวมถึงตราสารหนี้ภาครัฐและตราสารหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันทุกประเภท ธปท. ได้ดำเนินการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นตลาดพันธบัตรที่มีสภาพคล่องสูงสุด

2.3 การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อต้นปี 2546 เพื่อใช้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารสภาพคล่องในตลาดเงิน
ธปท. เป็นผู้กำหนดวงเงินการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ละประเภท โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับภาวะตลาดในแต่ละช่วง และคำนึงถึงกำหนดการออกพันธบัตรภาครัฐด้วย ธปท. จะประกาศตารางการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนใน website ของ ธปท.
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย จะจำหน่ายโดยวิธีการประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Multiple-Priced Auctions) ในวันอังคาร และผู้ชนะประมูลพันธบัตรจะต้องชำระราคาในวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล (วันพฤหัส) สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น จะเป็นกลุ่มเดียวกับผู้มีสิทธิ์ประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุเกินกว่าหนึ่งปี จะจําหน่ายโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาและแบบไม่แข่งขันราคา ผู้มีสิทธิประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ได้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์ อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน ตั้งแต่ปี 2546 พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี ในปี 2548 ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรอายุ 2 ปีอย่างต่อเนื่อง และในปี 2550 ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ยอดคงค้างพันธบัตร ธปท. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 980,702 ล้านบาท

2.4 สวอปเงินตราต่างประเทศ
สวอปเงินตราต่างประเทศ (foreign exchange swaps) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ปรับสภาพคล่องในตลาดเงิน สวอปเป็นเครื่องมือ OMOs ที่เสริมกันได้ดีกับเครื่องมือ OMOs อื่น ๆ ที่ใช้ตราสารหนี้ในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ตราสารหนี้ในประเทศมีจำนวนน้อย ธุรกรรมสวอปเงินตราต่างประเทศมีลักษณะคล้ายกับธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร แต่แตกต่างกันตรงที่เงินบาทถูกแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศ (ดอลลาร์ สรอ.) มิใช่ตราสารหนี้ในประเทศ
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่ต้องการสภาพคล่องเงินบาทสามารถยื่นข้อเสนอต่อ ธปท. ผ่าน Web Portal ก่อนเวลา 13.30 น. โดยระบุจำนวนเงินที่ต้องการทำสวอป อายุสัญญา และ swap points ธปท. จะแจ้งผลให้ธนาคารพาณิชย์นั้นทราบภายหลังที่ได้ประเมินภาวะสภาพคล่องโดยรวมในตลาดเงิน ส่วนใหญ่การชำระเงินจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันทำการถัดมา ยกเว้นในกรณีพิเศษ ธปท. อาจอนุญาตให้มีการชำระเงินภายในวันเดียวกัน (ในกรณีที่ ธปท. ทำธุรกรรม buy-sell swap คือซื้อดอลลาร์ สรอ. และขายบาทเพื่อปล่อยสภาพคล่องให้แก่ ธพ.)
นอกจากนี้ ธปท. ยังทำธุรกรรม Sell-Buy สวอป เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในประเทศ (onshore) และต่างประเทศ (offshore) โดยทั่วไปแล้ว ธปท. จะทำธุรกรรม Sell-Buy สวอป เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการดูดซับสภาพคล่องผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร โดย ธปท. อาจติดต่อกับธนาคารพาณิชย์โดยตรงหรือติดต่อผ่านนายหน้า (brokers) และสามารถทำธุรกรรมได้ตลอดวัน สำหรับการชำระเงินใน 1-2 วันทำการถัดมา
อายุสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศมีตั้งแต่ 1 วันถึง 1 ปี แต่โดยทั่วไปการทำ OMOs ผ่านธุรกรรมสวอป มักจะเป็นระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน

3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing facilities)
ธปท. มีหน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (End-of-Day Liquidity Adjustment Window) ซึ่งเป็นช่องทางที่สถาบันการเงินสามารถกู้หรือให้กู้แก่ ธปท. ได้ เพื่อปรับสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ในช่วงสิ้นวัน โดยสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องสามารถเข้ามากู้ยืมเงินกับ ธปท. โดยมีพันธบัตรเป็นหลักประกัน หรือในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องส่วนเกิน ก็สามารถเข้ามาลงทุนกับ ธปท. โดย ธปท. จะออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้เพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างปรับสภาพคล่องสิ้นวันจะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบายบวกหรือลบด้วยส่วนต่าง (Margin) ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการกู้ยืมจาก ธปท. หรือ ปล่อยกู้ให้ ธปท. โดยในปัจจุบัน ธปท. กำหนดส่วนต่างให้เท่ากับ +/- ร้อยละ 0.5 ซึ่ง ณ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันจะอยู่ที่ร้อยละ 4.0-5.0 ต่อปี การกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้อิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งด้านบวกและลบนั้น ก็เพื่อสร้างกลไกที่จะจำกัดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยตลาดให้อยู่ในระดับที่รับได้ แต่ในขณะเดียวกันยังคงกรอบความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยให้กว้างพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินปรับสภาพคล่องระหว่างกันในตลาดตามปกติ
สำหรับการเสริมสภาพคล่อง ณ สิ้นวันให้กับสถาบันการเงินที่มาขอกู้ผ่านหน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวันนั้น แม้จะไม่มีการจำกัดวงเงินกู้รายสถาบัน แต่หลักทรัพย์ค้ำประกันของสถาบันการเงินจะเป็นตัวจำกัดวงเงินกู้โดยปริยาย ซึ่งการเสริมสภาพคล่องสิ้นวันในลักษณะนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของระบบบาทเน็ตซึ่งเป็นระบบการชำระเงินแบบ RTGS (Real Time Gross-Settlement) ที่มีการให้กู้ยืมแบบไม่เสียดอกเบี้ยผ่าน Intraday Liquidity Facility (ILF) เพื่อหล่อลื่นระบบการชำระเงินระหว่างวัน ในกรณีที่สถาบันการเงินชำระคืน ILF มิได้ภายในสิ้นวัน จะจำเป็นต้องกู้เงิน ILF ข้ามคืน (Spill-over)โดยจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันเปรียบเสมือนกับสถาบันการเงินนั้นได้ขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน สำหรับพันธบัตรที่สถาบันการเงินสามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันเป็ประเภทเดียวกับพันธบัตรที่ใช้ในธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ธปท. จะใช้ haircuts ในอัตราร้อยละ 10 กับพันธบัตรทุกประเภท
ทั้งนี้ ธุรกรรมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันทั้งด้านกู้และให้กู้จะเป็นธุรกรรมระยะข้ามคืนที่มีการชำระเงินภายในวันเดียวกัน (Same-Day Settlement) เปิดบริการให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งที่มีบัญชีเงินฝากที่ ธปท. ได้แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ โดยสามารถทำธุรกรรมได้ระหว่าง 16.30 -17.30 ของทุกวันทำการ ยกเว้นในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง อาจต้องขยายเวลาปิดของหน้าต่างปรับสภาพคล่องสิ้นวันออกไปตามระบบการชำระเงิน
แม้ว่าปริมาณการปรับสภาพคล่องผ่านหน้าต่างนี้จะมีค่อนข้างน้อย แต่การมีหน้าต่างนี้เป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพในตลาดเงิน โดยทำหน้าที่เป็น safety valve ของระบบ และอัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างนี้จะเป็นเสมือนขอบเขตจำกัดความผันผวนด้านบน (Cap) และด้านล่าง (Floor) ของอัตราดอกเบี้ยระยะข้ามคืนในตลาด (Interest Rate Corridor)

ไม่มีความคิดเห็น:

when i was young

when i was young
like a boy

จัดให้เต็มๆ

จัดให้เต็มๆ
มองไรนักหนา ไม่เคยเห็นคนน่ารักไง คนไรก็ไม่รู้