ขอน้อมอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เว็บนี้สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว



ร่วมเติมเต็มทุกหัวใจของคนที่มีรักได้ที่นี่

แล้วคุณจะรู้ว่า
ปรารถนาจะเป็นผู้สั่งการ
หัวใจคือผู้เร่งเร้าให้รุ่มร้อน
เรือนกายคือผู้ปฏิบัติตามปรารถนา
ทุกสิ่งจะเป็นไปตามครรลองของมันเองทุกประการ

ที่นี่จะรวมบทวิจารณ์ รวมถึงข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่างๆไว้
โดยเฉพาะที่มาจากความคิดเห็นของผู้แต่งเอง
ทั้งนี้ผู้แต่งจะไม่ขอรับผิดชอบใดๆ อันเกิดจากการนำข้อความดังกล่าวที่ปรากฏในบล็อกไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ติชม กันเยอะๆนะคะ
ขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ


ด้วยความปราถนาดี

R-ka



ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าชมได้อีกบล็อกนึง คือ

http://www.rka-state.vox.com/


Mariah Carey - Bye Bye

lay on my high-heels

lay on my high-heels
งานบายเนียรปี2008 ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ห้องสงบอารมณ์:การเดินทางออกจากการเป็นบ้า

บทวิจารณ์ ห้องสงบอารมณ์ : การเดินทางออกจากการเป็นบ้า


อาการทางจิตคืออะไร?
หลายคนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการดังกล่าวว่าล้วนแต่มีสาเหตุเกิดขึ้นจากความเครียด หรือไม่ ก็เป็นผลมาจากความผิดปกติทางสมองมาตั้งแต่เด็ก ทำให้คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนปกติทั่วไป บ้างก็อาจสร้างความรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นๆในสังคมได้ จึงจำกัดคนกลุ่มนี้ออกไปจากสังคม ให้อยู่ในเฉพาะที่ที่สังคมได้กำหนดไว้ อาทิ โรงพยาบาล หรือ สถานบำบัดทางจิต เป็นภาระให้สังคมต้องรับผิดชอบในการควบคุมดูแล
แพทย์หญิง เจน ดอลเลอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางคลินิก แห่งวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล โรงพยาบาลนิวยอร์ก สาขาเวสท์เชสเตอร์ ได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับโรคจิตเภทไว้ดังนี้ “จิตเภท (schizophrenia) ไม่ใช่บุคลิกภาพแตกแยก แต่เป็นโรคทางสมอง เกิดจากความไม่สมดุลทางเคมี คนเป็นโรคจิตเภทมีอาการประสาทหลอน พวกเขาได้ยินเสียงสั่งให้ทำโน่นทำนี่ ได้ยินเสียงพูดเกี่ยวกับตัวเขา บางครั้งก็มีอาการหลงผิด เช่นคิดว่าตนเป็นผู้เผยวจนะเอลียาห์หรือโมเสสในคัมภีร์ไบเบิล คนที่เป็นโรคจิตเภทป่วยหนักมาก ส่วนใหญ่คนจะเริ่มเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เพิ่งเริ่มต้นชีวิต บางครั้งยาช่วยควบคุมอาการประสาทหลอนได้ บางครั้งยาก็ช่วยอะไรไม่ได้เลย บ่อยครั้งอย่างยิ่งที่คนเป็นโรคจิตเภทไม่หายป่วย บางคนต้องใช้ชีวิตในสถานบำบัด”
ห้องสงบอารมณ์ : การเดินทางออกจากการเป็นบ้า ประพันธ์โดย ลอรี่ ซิลเลอร์ และ อแมนด้า เบ็นเน็ตต์ แปลโดย เครือวัลย์ เที่ยงธรรม เป็นเรื่องราวที่อ้างอิงจากชีวิตจริงของ ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต คือ ลอรี่ ซิลเลอร์ ตัวผู้แต่งนั้นเองเธอเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะ เธอชื่นชมในความสำเร็จพ่อตนเองมากและตั้งใจเรียนจนมีผลการเรียนดี ทำให้พ่อแม่ตั้งความหวังในตัวลูกสาวคนนี้สูงเช่นกัน เธอเริ่มมีอาการผิดปกติทางจิต หรือ “หูแว่ว”นี้ในช่วงวัยรุ่น เช่นเดียวกันกับคนอื่นๆในสังคมที่มักมองข้ามอาการเริ่มต้นของตนเองไป อาจเป็นเพราะความอับอายและกลัวการถูกรังเกียจจึงปกปิดอาการของตนเองไว้ ซึ่งตัวเธอเองมีอาการเป็นๆหายๆมาตลอด กระทั่งเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพื่อนของเธอสังเกตเห็นบุคลิกภาพและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่เปลี่ยนแปลงไปของเธอ แต่พ่อแม่ของเธอกลับเข้าใจว่าเป็นอาการวิตกกังวลทั่วไปของวัยรุ่น จึงแนะนำให้ลอรี่เข้ารับการรักษากับจิตแพทย์ ทว่าตัวลอรี่เองไม่ยอมรับว่าตนเองป่วยและไม่กล้าที่จะบอกเล่าอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้แก่จิตแพทย์ส่วนตัวของเธอ กระทั่งเมื่อเธอเรียนจบและเข้าทำงานได้ระยะหนึ่งเพื่อนของเธอพบว่า เธอกินยาเกินขนาด ต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล จากคำวินิจฉัยของแพทย์ พ่อแม่ของเธอรับไม่ได้ว่าเธอมีอาการทางจิต จึงไม่ยอมให้ลูกเข้ารับการรักษา ทำให้เธอมีอาการแย่ลงและพยายามที่จะฆ่าตัวตายอีกครั้ง ส่งผลให้ทั้งสองท่านตระหนักถึงอาการป่วยของลูกสาว ยอมให้เธอเข้ารับการรักษาอาการทางจิตตามความเห็นของแพทย์
ด้วยความหวังที่จะให้ตนเองหลุดพ้นจากความทรมานของโรค การรักษาครั้งแรกที่คลินิกเพนวิทนีย์ ลอรี่ ได้รับการรักษาหลายวิธี ทั้งการทดลองยาหลายชนิดและให้ในปริมาณที่มาก อีกทั้งการรักษาโดยใช้ไฟฟ้าบำบัด แต่ก็ทำได้เพียงให้ช่วยอาการดีขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้นและมีผลเสียคือการเกิดอาการเร็วขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญคือ วิธีการรักษาแบบลองผิดลองถูก การเปลี่ยนแพทย์ผู้รักษาบ่อยครั้ง บวกกับการปฏิบัติกับคนไข้ที่ไม่ถูกต้อง ทำให้



แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง อาการของเธอจึงยังไม่ดีขึ้น พ่อของเธอจึงนำเธอออกจากสถานพยาบาลด้วยความคิดที่ว่า ควรทดลองให้ลอรี่ใช้ชีวิตในสังคม น่าจะเป็นวิธีที่ช่วยให้เธอมีอาการดีขึ้น มากกว่าให้เธออยู่ในสถานพยาบาล ซึ่งการใช้ชีวิตภายนอกนี้เอง เธอพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับพ่อแม่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้เธอเริ่มหันเหไปพึ่งยาเสพติดจากเพื่อนที่ทำงานในร้านอาหารที่เธอทำงานอยู่ ใช้เป็นทางออกในการควบคุมอาการที่เกิดขึ้นของเธอแทนการไปพบจิตแพทย์ข้างนอกชื่อ หมอ ร้อคแลนด์ที่ไม่ช่วยให้เธอดีขึ้น เมื่อพ่อแม่ของเธอพบว่าเธอเสพยา จึงส่งเธอไปบำบัดยาเสพติดทันที
เธอกลับมาใช้ชีวิตและเริ่มต้นทำงานใหม่อีกครั้งโดยการเป็นเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลศูนย์จิตเวช ไรย์ เธอทำงานดูแลผู้ป่วยทางจิตได้ดี และตัดสินใจที่จะเรียนพยาบาล ทว่า อาการของเธอเกิดขึ้นอีกครั้ง เธอจึงตัดสินใจเข้ารับการรักษาอีกครั้งที่โรงพยาบาลนิวยอร์ก ตามคำแนะนำของหมอร้อคแลนด์ในหน่วยดูแลอาการรุนแรง เธอไม่ยอมร่วมมือในการรักษาของแพทย์และต่อต้าน จนต้องเข้าห้องสงบอารมณ์หลายครั้ง และต้องออกมารับการรักษาในบ้านกึ่งวิถี โรงพยาบาลเซนต์วินเซนต์ ที่นี่เองเธอเริ่มปล่อยเนื้อปล่อยตัว วิตกกังวลและเครียด เนื่องจากหมดหวังและท้อแท้กับอาการของตนเอง และหันมาเสพยาเสพติดอีกครั้ง
การรักษาในบ้านกึ่งวิถีนั้น ลอรี่ ได้ออกมาใช้ชีวิตภายนอกตามปกติร่วมกับการรักษา ทำให้เธอพยายามฆ่าตัวตายอีกครั้งแต่ด้วยการช่วยเหลือจากเพื่อนผู้ป่วย ทำให้เธอตระหนักถึง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่และตั้งใจที่จะต่อสู้กับอาการของโลกอีกครั้ง เธอได้ลงชื่อเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในหน่วยการรักษาระยะยาวของโรงพยาบาลนิวยอร์ก ที่นี่เอง เธอได้พบกับจิตแพทย์ทั้งสองคนคือ หมอ เจน ดอลเลอร์ และหมอฟิชเชอร์ ทำให้เธอเปิดใจบอกเล่าอาการของตนเองผ่านการเขียนบันทึกประจำวัน ซึ่งช่วยให้เธอมีความเข้าใจกับอาการของโรคมากขึ้นและไม่ต่อต้านการรักษา ทั้งยังเสนอตัวเองทดลองรักษากับยาตัวใหม่ที่อยู่ในขั้นทดลอง คือ โคลซาพีน
ในที่สุดเธอก็สามารถออกจากโรงพยาบาลโดยที่เธอมีอาการดีขึ้น ควบคุมตนเองได้มากขึ้น บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากอาการป่วยกลับมาเป็นดังเดิมเช่นเดียวกับก่อนที่เธอจะมีอาการของโรค ไม่ทำตัวแตกแยกจากสังคม สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ ไม่อายที่จะขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างเมื่อตัวเองมีอาการเกิดขึ้น และที่สำคัญคือ เธอสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นเดียวกับคนอื่นๆในสังคม
หนังสือ เรื่อง ห้องสงบอารมณ์ : การเดินทางออกจากการเป็นบ้า คือหนังสือเล่มหนึ่งที่ แสดงให้เห็นแง่มุมหนึ่งของโรคจิตเภทผ่านการบอกเล่าจากผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติ ครอบครัวของผู้ป่วย เพื่อนของผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาทางจิตโดยกล่าวถึงอาการของโรค ความพยายามของผู้ป่วยในการต่อสู้กับอาการของโรคที่ปรากฏขึ้นได้ตลอดเวลา บุคลิกภาพและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทัศนคติของผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมถึงวิธีการในการรักษาและปฏิบัติต่อผู้ของแพทย์และเจ้าหน้าที่ ช่วยให้ผู้อ่านการเปิดโลกทัศน์ใหม่เกี่ยวกับอาการป่วยทางจิต ว่าไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน โดยนำเสนอในรูปแบบของบันทึก สามารถอ่านและทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ง่าย แม้จะมีจำนวนหน้า 300 กว่าหน้าก็ตาม คำศัพท์ทางวิชาการต่างๆไม่ได้เป็นอุปสรรคในการอ่านแม้แต่น้อยและช่วยให้มีความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น หนังสือเล่มนี้จึงไม่จำกัดอยู่แค่เพียงกลุ่มผู้ที่มีความสนใจในอาการความผิดปกติทางจิตเท่านั้น ผู้อ่านท่านอื่นๆทั่วไปก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคแก่ผู้อื่นเพื่อเป็นประโยชน์แก่สังคมได้ต่อไป




เมื่อเปรียบกับสังคมไทยในปัจจุบัน เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตามกระแสวัฒนธรรมต่างชาติในด้านต่างๆที่หลั่งไหลเข้ามา ผสมกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเราแทบทั้งสิ้น แน่นอนว่าความคิดและค่านิยมของคนไทยก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
จากที่มีผู้กล่าวไว้ว่า “ เด็กในวันนี้ คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” ทำให้เราทราบว่าเยาวชน คือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งในสังคมที่ถูกคาดหวังจากคนในสังคมอย่างมากว่า จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ทำให้เยาวชนในปัจจุบันต้องอยู่ในสภาวะการแข่งขันภายใต้ความกดดันทั้งทางครอบครัวและสังคมสูง เริ่มต้นจากครอบครัว พ่อแม่มีการวางแผนอนาคตให้ลูกของตนตั้งแต่เกิดมาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ตั้งแต่วิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างไปในแต่ละครอบครัว การศึกษาเห็นได้ชัดจากการที่ พ่อแม่นิยมให้ลูกเรียนพิเศษเพื่อสอบเข้าสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ให้ทำคะแนนเรียนในชั้นได้มากเพื่อหวังเกรดนิยมและโอกาสในการศึกษาต่อ รวมถึงการส่งเสริมให้ลูกของตนมีความสามารถพิเศษต่างๆอาทิ การแสดง การร้องเพลง ดนตรี กีฬา ฯ เพื่อเป็นหน้าเป็นตาแก่วงศ์ตระกูล ทำให้เยาวชนมีความเครียด มีเวลาในการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวลดลง เกิดช่องว่างระหว่าง ลูกกับพ่อแม่ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาครอบครัวยังผลมาจากการที่เยาวชนส่วนนี้นิยมแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือปรึกษาเพื่อนมากกว่าพ่อแม่ของตน แต่ด้วยวุฒิภาวะที่น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ทำให้การแก้ไขปัญหาของพวกเขาได้รับการแก้ไขในทางที่ถูกต้องบ้างไม่ถูกต้องบ้าง บางรายอาจลงเอยด้วยการติดยาเสพย์ติด การฆ่าตัวตายเมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ และเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ลงเอยด้วยการมีอาการผิดปกติทางจิต เป็นปัญหาทางสังคมใกล้ตัวที่เกิดขึ้นซ้ำซากและพบเห็นได้จากสื่อต่างๆทั่วไป สามารถเกิดขึ้นได้กับแทบทุกครอบครัวไม่แบ่งแยกว่าจะมีฐานะทางสังคมอย่างไร
ครอบครัวจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลและพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีศักยภาพและคุณภาพ โดยมีความรักความเข้าใจกันภายในครอบครัวเป็นเกราะป้องกันที่จำเป็นอย่างมากในปัจจุบัน พ่อแม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนบทบาทวิธีการดูแลลูกของตนมากกว่าแค่ในฐานะผู้ปกครอง ทำความเข้าใจกับพฤติกรรมธรรมชาติของเด็กให้มากขึ้น ปลูกฝังให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเองไม่สร้างกดดันแก่ลูกของตนมากเกินไป คอยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของลูกๆ หากเป็นสิ่งที่ดีก็ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เขาทำ หากเป็นสิ่งไม่ดีก็ควรตักเตือนและหากิจกรรมอื่นที่ดีให้เขาทำ อย่าปล่อยปะละเลยหรือมองข้ามปัญหาแม้เพียงเล็กน้อยไป ที่สำคัญ คือ การเปิดใจยอมรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นและหาวิธีทางแก้ไขที่ถูกต้องร่วมกัน มากว่าที่จะให้เด็กลองผิดลองถูกด้วยตนเอง หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็ควรเปิดใจรับรู้ทำความเข้าใจและหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ทอดทิ้งให้เด็กต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวตามลำพัง ให้กำลังใจและให้โอกาสลูกของตนต่อสู้กับปัญหาโดยไม่ท้อแท้เสียเอง กล้าที่จะยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นมากว่าปกปิดและเพิกเฉย รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนเองมีร่วมกับผู้อื่นในการแก้ไขปัญหา เพื่อเยาวชนจะได้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งในด้านความรู้และคุณธรรมควบคู่กันไป สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และต่อยอดในการพัฒนาเยาวชนรุ่นต่อไปให้มีคุณภาพในอนาคต

----------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

when i was young

when i was young
like a boy

จัดให้เต็มๆ

จัดให้เต็มๆ
มองไรนักหนา ไม่เคยเห็นคนน่ารักไง คนไรก็ไม่รู้