ขอน้อมอาลัย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เว็บนี้สามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว



ร่วมเติมเต็มทุกหัวใจของคนที่มีรักได้ที่นี่

แล้วคุณจะรู้ว่า
ปรารถนาจะเป็นผู้สั่งการ
หัวใจคือผู้เร่งเร้าให้รุ่มร้อน
เรือนกายคือผู้ปฏิบัติตามปรารถนา
ทุกสิ่งจะเป็นไปตามครรลองของมันเองทุกประการ

ที่นี่จะรวมบทวิจารณ์ รวมถึงข่าวสารสาระที่เป็นประโยชน์ต่างๆไว้
โดยเฉพาะที่มาจากความคิดเห็นของผู้แต่งเอง
ทั้งนี้ผู้แต่งจะไม่ขอรับผิดชอบใดๆ อันเกิดจากการนำข้อความดังกล่าวที่ปรากฏในบล็อกไปใช้อย่างไม่เหมาะสม
เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น ติชม กันเยอะๆนะคะ
ขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ


ด้วยความปราถนาดี

R-ka



ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าชมได้อีกบล็อกนึง คือ

http://www.rka-state.vox.com/


Mariah Carey - Bye Bye

lay on my high-heels

lay on my high-heels
งานบายเนียรปี2008 ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โอบาม่ากวาดเรียบ 8 รัฐ - แม็คเคนยังแรง



วุฒิสมาชิกบารัก โอบาม่า ผู้สมัครชิงประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต มีชัยชนะอย่างง่ายดาย เหนือคู่แข่งคือวุฒิสมาชิกหญิงฮิลลารี่ คลินตัน ในการเลือกตั้งแบบไพรมารี่ที่รัฐเวอร์จิเนีย,แมรี่แลนด์ กับกรุงวอชิงตัน ดีซี หรือ"โปรโตแมค ไพรมารี่" เมื่อวันอังคาร ส่งผลให้เขามีชัยชนะเหนือนางฮิลลารี่ติดต่อกันรวม 8 สนามแล้ว


ชัยชนะล่าสุด ทำให้โอบาม่ามีจำนวนคณะผู้แทนที่จะไปยกมือสนับสนุนเขาในการประชุมใหญ่ของพรรคในเดือนสิงหาคมมากกว่าฮิลลารีเป็นครั้งแรก 1,186 ต่อ 1,181 จาก 2,025 เสียงที่ต้องการเพื่อให้ได้เป็นตัวแทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี


หลายคนมองว่าฮิลลารีทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่าคงไม่ชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงทุ่มเทความพยายามในการหาเสียงสนามถัดไปในวันที่ 4 มีนาคมที่รัฐเท็กซัสและโอไฮโอ ซึ่งมีจำนวนคณะผู้แทนรวมกันประมาณ 350 เสียง แต่มีรายงานด้วยว่า นายไมค์ เฮนรี่ รองผู้จัดการการหาเสียงของนางฮิลลารี่ ลาออกหลังทราบผล หนึ่งวันหลังจากแพตตี้ ดอยล์ ผู้จัดการหาเสียงของเธอลาออกไปแล้วคนหนึ่ง


ด้านพรรครีพับลิกัน วุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ก็มีชัยชนะเหนือคู่แข่งคือนายไมค์ ฮัคคาบี้ที่รัฐเวอร์จิเนีย,แมรี่แลนด์ และกรุงวอชิงตัน ดีซี เช่นกัน แต่ชัยชนะที่รัฐเวอร์จิเนีย เป็นไปอย่างสูสี เพราะผู้มีสิทธ์ออกเสียงที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยมทางศาสนา พากันออกมาเทคะแนนเลือกนายฮัคคาบี้ อดีตผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอและอดีตนักเทศน์ แบบติส


ชัยชนะครั้งนี้ทำให้แม็คเคนมีเสียงของคณะผู้แทนในมือทิ้งห่างฮัคคาบีออกไปอีก 789 ต่อ 241 และคาดว่าในปลายเดือนเมษายนนี้จะไปถึงเป้าหมายที่ 1,191 เสียงซึ่งเป็นจำนวนที่ต้องการเพื่อให้ได้เป็นตัวแทนพรรคชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐ


ก่อนหน้านั้น เมื่อวันเสาร์โอบามาก็เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะเหนือนางคลินตันที่รัฐเนบราสก้า วอชิงตัน หลุยส์เซียนา และเกาะเวอร์จินไอส์แลนด์ด้วยคะแนนทิ้งห่างกันอย่างมาก ในการเลือกตั้งแบบคอคัสที่รัฐเนบราสก้า ซึ่งมีคณะผู้แทนจำนวน 24 เสียง โอบาม่า กวาดคะแนนไป 68 % ส่วนวุฒิสมาชิกฮิลลารี่ ได้ 32% นอกจากนี้เขายังได้รับชัยชนะแบบคอคัสที่รัฐวอชิงตัน 68% ทิ้งห่างฮิลลารีที่ได้ 31% ซึ่งรัฐวอชิงตันเป็นรัฐสำคัญเนื่องจากมีจำนวนของคณะผู้แทน 78 เสียง และในการเลือกตั้งแบบไพรมารีในรัฐหลุยส์เซียนา ซึ่งมีจำนวนคณะผู้แทน 56 เสียงโอบามานำ 54% ขณะที่ฮิลลารีได้เพียง 39% นอกจากนี้โอบามายังคว้าชัยชนะในเกาะเวอร์จินไอส์แลนด์ ดินแดนอาณานิคมด้วยคะแนนเสียงเกือบ 90%


ส่วนผลการเลือกตั้งแบบคอคัสที่รัฐแคนซัสของพรรครีพับลิกัน ปรากฏว่า นายไมค์ ฮัคคาบี อดีตผู้ว่าการรัฐอาคันซอส์ ได้รับชัยชนะด้วยคะแนน 60% ส่วนวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน จากรัฐอริโซนาซึ่งเป็นตัวเก็งอันดับหนึ่งของพรรค ได้ 24 % แต่แมคเคน อดีตวีรบุรุษสงครามเวียดนามวัย 71 ปี รวบรวมจำนวนคณะผู้แทนได้มากกว่าคู่แข่งนอกจากนี้ฮัคคาบียังชนะแมคเคนในการเลือกตั้งไพรมารีในรัฐหลุยเซียนา แต่แมคเคนชนะในรัฐวอชิงตันแบบหวุดหวิด


ส่วนในวันถัดมา ในการเลือกตั้งที่รัฐเมนส์ โอบาม่าชนะฮิลลารีไป 59 ต่อ40% ได้คณะผู้แทนรัฐหรือdelegatesไป 15 เสียงจากทั้งหมด 24 เสียง ทำให้ฮิลลารีตัดสินใจแต่งตั้ง แม็กกี้ วิลเลี่ยมส์ คนใกล้ชิดของครอบครัวคลินตัน ให้เป็นผู้จัดการการหาเสียงคนใหม่ แทน แพตตี้ ดอยล์ ซึ่งยืนยันเต็มใจออกจากหน้าที่เองโดยไม่มีแรงกดดันจากใครทั้งสิ้น


ด้านพรรครีพับลิกัน ไมค์ ฮัคคาบี อดีตผู้ว่าการรัฐอาคันซอส์ ซึ่งเพิ่งคว้าชัยชนะจากการเลือกตั้งล่าสุดเมื่อวันเสาร์ทั้งที่แคนซัสและหลุยเซียน่า ออกมาปฏิเสธไม่ขอลงสมัครในฐานะรองประธานาธิบดีคู่กับจอห์น แม็คเคน และว่าจะไม่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน แม้จำนวนdelegatesจะเป็นรองแม็คเคนอยู่มากก็ตาม (234 ต่อ 724 เสียง)


ด้านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ออกโรงหนุนแม็คเคนเต็มที่ระหว่างให้สัมภาษณ์ฟ็อกซ์ นิวส์ โดยว่าแม็คเคนเป็นอนุรักษ์นิยมตัวจริง("solid conservative") และว่ายินดีจะช่วยเหลือแม็คเคนเต็มที่ หากเขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี หลายฝ่ายมองว่าท่าทีของบุชจะช่วยเพิ่มความได้เปรียบให้กับแม็คเคนซึ่งไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนมากนักจากกลุ่มหัวอนุรักษ์นิยมในพรรค
ท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด โดยขณะนี้ บารัค โอบาม่า วิ่งแรงแซงขึ้นหน้านางฮิลลารี คลินตัน ในการชิงความเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตไปแล้ว แต่มีคำถามเกิดขึ้นในหมู่ชาวเดโมแครตว่า Clinton ,Obama : Why not Both ?

ตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ ไม่ใช่ช่วงดีสำหรับนางฮิลลารี เพราะเธอแพ้กราวรูด เริ่มจากเมื่อวันเสาร์ที่โอบามาคว้าชัยชนะใน 4 สนามรวด ทั้งที่หลุยเซียนา เนบราสก้า วอชิงตัน และหมู่เกาะเวอร์จิน ตามมาด้วยวันอาทิตย์ที่เขาชนะที่รัฐเมน และล่าสุดในการเลือกตั้งแบบไพรมารีในอีก 3 สนามเมื่อวันอังคาร ที่รัฐเวอร์จิเนีย, แมรีแลนด์ กับกรุงวอชิงตัน ดีซี หรือ "โปรโตแมค ไพรมารี" โอบามาก็ชนะอีก ทำให้เขามีชัยชนะเหนือนางฮิลลารีติดต่อกันรวม 8 สนามแล้ว

ชัยชนะจากทั้ง 8 สนาม ทำให้จำนวนคณะผู้แทน หรือ delegates ที่จะไปยกมือสนับสนุนโอบามา ในการประชุมใหญ่ของพรรคเดือนสิงหาคมมากกว่าฮิลลารีเป็นครั้งแรก 1,186 ต่อ 1,181 จาก 2,025 เสียงที่ต้องการเพื่อให้ได้เป็นตัวแทนพรรคชิงตำแหน่งประธานาธิบดี

สถานการณ์เพลี่ยงพล้ำที่เกิดขึ้น ทำให้ฮิลลารีประกาศแต่งตั้ง แม็กกี้ วิลเลี่ยมส์ คนใกล้ชิดของครอบครัว ให้เป็นผู้จัดการหาเสียงคนใหม่ แทน แพตตี้ ดอยล์ ซึ่งยืนยันว่าเธอเต็มใจออกจากหน้าที่เองโดยไม่มีแรงกดดันจากใคร งานแรกของ วิลเลี่ยมส์ คือศึกในสนามที่แมรีแลนด์ เวอร์จิเนีย และวอชิงตัน ดีซี ที่เรียกว่า Potomac Primary เพราะทั้ง 3 รัฐตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโปโตแมค แต่ก็ยังไม่ทันการณ์ เพราะฮิลลารีแพ้จากทั้ง 3 รัฐนี้เช่นกัน

นักวิเคราะห์บอกว่า เดโมแครตกำลังได้เปรียบหลายด้าน รวมทั้งมีผู้สนับสนุนของพรรคฯ ออกมาใช้สิทธ์มากเป็นประวัติการณ์, การหาเงินทุนของผู้สมัคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอบามา ผู้หาเงินบริจาคทำลายสถิติอยู่เป็นประจำ แม้แต่สถิติที่ รีพับลิกันเคยทำไว้ ตอนนี้คู่แข่งของเดโมแครต ก็ลดเหลือเพียงแค่ 2 คนแล้วคือ ฮิลลารี่กับโอบามา และเชื่อว่าอีกไม่นาน เดโมแครตที่กำลังปวดหัวว่าจะเลือกใครดี จะเริ่มเรียกร้องให้ "เก็บเอาไว้ทั้งคู่"

เริ่มมีคนที่คิดแบบนี้เพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่สองคนนี้ทำญาติดีและจี๋จ๋ากัน ระหว่าง ดีเบทเมื่อสามสัปดาห์ก่อนที่ "โกดัค เธียเตอร์" ในนครลอส แองเจลีส ภาพ 2 คนยืนกระซิบกระซาบที่ข้างหู ไม่ว่าจะทำไปด้วยความจริงใจ หรือแค่ปั้นหน้าเพื่อให้ถ่ายภาพ แต่ก็ทำให้หลายคนเริ่มคิดว่า แทนที่เดโมแครตจะมัวทะเลาะกันเอง ทำไมไม่จับมือกันดึงคะแนนจากชาวอเมริกันผู้มีสิทธิ์ออกเสียง และยึดทำเนียบขาวคืนมาจากรีพับลิกัน

โพลล์ของนิตยสาร Time ระบุว่า 62% ของชาวเดโมแครต เห็นว่าหากฮิลลารีได้เป็นตัวแทนพรรคฯ เธอน่าจะเสนอให้โอบามาเป็นรองประธานาธิบดี ส่วนอีก 51% บอกว่าอยากให้โอบามาทำแบบเดียวกันถ้าเขาคือตัวแทนพรรคฯ เปรียบเสมือนการทำงานร่วมกันของ สมองซีกขวาและซีกซ้ายของพรรคฯ

ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะรู้ว่า สองคนนี้จะทำงานด้วยกันได้จริงหรือไม่ แต่ก็มีหลายเหตุผลให้กลัวว่าจะไปไม่รอด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่ฮิลลารีจะพ่ายต่อเนื่องถึง 8 รัฐ เทอรี่ แอคออลิฟฟ์ นักหาทุนของฮิลลารี พูดในเช้าวันซูเปอร์ ทิวสเดย์ ว่า โอบามาจุดกระแสตื่นตัวในหมู่ผู้ฟังได้มาก จึงน่าจะพิจารณาเขาในตำแหน่งรองประธานาธิบดี

ตอนนั้นคะแนนของโอบามายังตามหลังฮิลลารีอยู่ แต่ขณะที่ยังตามหลัง โฆษกของโอบามายังออกมาประกาศว่า "เราไม่ได้กำลังแข่งขันชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีอยู่" ( We're not running for Vice President) ยิ่งตอนนี้คะแนน โอบามาขึ้นนำแล้ว ฝ่ายของวุฒิสมาชิกจากอิลลินอยส์คงไม่แลแนวคิดนี้แน่นอน

นอกจากนี้ ประเด็นหนึ่งที่โอบามาคงไม่ลืมง่ายๆ คือการที่ บิล คลินตัน โจมตี โอบามาอย่างหนักในช่วงก่อนการเลือกตั้งไพรมารี่ที่เซาท์ แคโรไลนา ซึ่งนาง ฮิลลารีพ่ายโอบามาตามคาด ที่ปรึกษาคนหนึ่งบอกว่า โอบามาจะไม่ยอมพูดคุย เรื่องความเป็นไปได้ที่เขาจะร่วมมือกับเธอ จนกว่าเธอจะรับปากว่าตลอดสมัยแรกในทำเนียบขาว จะกันไม่ให้บิลเข้าไปจุ้นจ้านแถบ "เวสต์ วิง" ที่อยู่ของประธานาธิบดีในทำเนียบขาว และมีข่าวออกมาด้วยว่า หากฮิลลารียอมรับปาก โอบามาก็จะปฏิเสธข้อเสนอของเธอทันที

ตอนออกรายการ David Letterman เมื่อเร็วๆนี้ นางฮิลลารี่พูดติดตลกว่า ถ้าชนะเลือกตั้ง เธอใหญ่สุดในทำเนียบขาว แต่ใครๆก็รู้ดีว่า หากเธอชนะ เธอกับบิลจะทำงานเป็นทีม บิลไปพูดที่นาปา แวลลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะช่วยภรรยาที่ทำเนียบขาว แบบเดียวกับที่เธอเคยช่วยผม ...เดโมแครตคนหนึ่งบอกว่า โอบามาอาจสรุปว่า เป็นความสัมพันธุ์วุ่นวายเกินจะอยากไปร่วมด้วย

หากโอบามาได้เป็นตัวแทนเดโมแครต เขาจะยิ่งไม่อยากทำงานร่วมกับ 2 สามีภรรยาคู่นี้ เพราะเขาชูประเด็น "Change" เป็นหลัก นั่นคือ "ของใหม่" แตกต่างกว่าเดิม และ "ไม่ใช่สิ่งจาก"อดีต" ซึ่งรวมทั้ง "ปลอด"คลินตัน"

หลายเดือนที่ผ่านมา โอบามาโจมตีคลินตันว่ารับเงินจากลอบบี้ยิสต์,โกหกผู้มีสิทธิ์ออกเสียง เรื่องที่เธอโหวตสนับสนุนสงครามอิรัก รวมทั้งประเด็นเหยียดผิวและเพศ หากจู่ๆเขากลับลำ ผู้สนับสนุนบางคนจะมองว่า เขาทรยศต่ออุดมการณ์

โพลล์ของ Time ระบุว่า ขณะที่ 58%ของฝ่ายนางฮิลลารี สนับสนุนให้เธอจับมือกับโอบามา มีมากพอๆกัน คือ 56% กลับสนับสนุนให้โอบามาเลือกคนอื่น

ตามประวัติศาสตร์การเมืองของสหรัฐระบุว่า ทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครตเคยมีผู้ชนะได้เป็นตัวแทนพรรค แล้วทาบทามหรือมอบตำแหน่งรองฯ ให้คู่แข่งที่เพิ่งพ่ายแพ้ตัวเอง เป็นจำนวนมากกว่าผู้ชนะที่ไม่ทำเช่นนั้น เพราะเป็นวิธีสมานความแตกแยกอย่างหนักในพรรคได้

เมื่อปี 2503 ผู้ชนะได้เป็นตัวแทนเดโมแครต คือจอห์น เอฟ เคนเนดี เสนอตำแหน่งรองประธานาธิบดีให้อดีตคู่แข่ง คือลินดอน บี จอห์นสัน ทั้งที่คู่นี้เปรียบเสมือนน้ำกับน้ำมัน

20 ปีหลังจากนั้น โรนัลด์ เรแกน เสนอตำแหน่งรองฯให้จอร์จ บุช ทั้งที่ไม่สนิทกัน และ4 ปีต่อมา วอลเตอร์ มอนเดล ก็ทาบทาม แกรี ฮาร์ต คู่แข่งที่เขาเกลียดให้เป็นรอง แม้ในที่สุด เขาจะเลือกเจอร์ราดีน เฟอร์เรโร ล่าสุดเมื่อปี 2547 จอห์น เคร์รี ก็เลือกจอห์น เอ็ดเวิร์ดส์ มาเป็นรอง ทั้งที่ทั้งสองฝ่ายยังเกลียดขี้หน้ากันไม่หาย จากสนามชิงการเป็นตัวแทนพรรค

มองกันว่าใครก็ตามที่ชนะได้เป็นตัวแทนพรรค ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากจะเสนอตำแหน่งรองจากตนให้ผู้แพ้ จึงอาจมองการรณรงค์หาเสียงแบบไพรมารีและคอคัสว่า ไม่เพียงเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิง Delegate ยังเป็นการกระทำเพื่อสร้างสมานฉันท์ด้วย แต่ขณะนี้ยังเหลือเวลาอีกตั้ง 9 เดือนกว่าจะถึงวันเลือกประธานาธิบดี อะไรๆก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

นโยบายการเงิน



นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป (ไม่ใช่รูปนี้นะคะ)ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้อุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการบริโภคและการลงทุน ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ำมันและโอกาสที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวในระยะต่อไปอาจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคา สินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่กำลังฟื้นตัวและการส่งผ่านต้นทุน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้าคณะกรรมการฯ เห็นว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ความไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน) ไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี


ความเป็นมาและกรอบนโยบายการเงิน
ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของธนาคารกลาง และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งจะกำหนดโดยการตราพระราชกฤษฎีกา ในกฎหมายนี้ถึงแม้มิได้ระบุเรื่องนโยบายการเงินอย่างชัดแจ้ง แต่ก็กำหนดให้คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจในการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธปท. เรียกเก็บจากการเป็นแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the last resort) ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท.ในการซื้อขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ธปท.มิได้กระทำเพื่อค้ากำไร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กฏหมายมีบทบัญญัติโดยอ้อมให้ธปท.เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดเจน และในทางปฏิบัติธปท.จะดำเนินธุรกิจของธนาคารกลางโดยคำนึงถึง เสถียรภาพทางด้านการเงินและระบบการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
นโยบายการเงินของไทยแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ
1). การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) (ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 - มิถุนายน 2540) นโยบายนี้เริ่มใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยช่วงแรกใช้วิธีผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ และเปลี่ยนไปใช้ระบบผูกค่าเงินบาท กับตระกร้าเงินในช่วงพฤศจิกายน 2527 - มิถุนายน 2540 ภายใต้ระบบตะกร้าเงินนี้ ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ
2). การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Monetary Targeting) ( กรกฎาคม 2540 - พฤษภาคม 2543) หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และได้มีการกำหนด Policy Anchor แบบใหม่ คือ Monetary Targeting ซึ่งกำหนดเป้าหมายทางการเงิน อิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ หรือ ดุลการชำระเงิน และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้ (Ultimate Objectives) จากการประเมินภาพเศรษฐกิจดังกล่าว ธปท.สามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป
3). การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) (23 พฤษภาคม 2543 - ปัจจุบัน) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาปัจจัยต่างๆในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็น เป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจาก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน ดังนั้น ธปท. จึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน
การดำเนินนโยบายการเงิน ในกรอบ Inflation Targeting นั้น ธปท. ดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบันไปก่อน โดยอาศัยอำนาจผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินชุดแรกขึ้น เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิป็นกรรมการ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 9 ท่าน ในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตลอดจนพัฒนากรอบ Inflation Targeting ให้ เหมาะสมกับประเทศไทย
แต่สำหรับในอนาคตนั้น ได้มีการยกร่าง พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ ที่ให้อำนาจธปท.ในการกำหนดนโยบายการเงินอย่างมีอิสระ ซึ่งยังอยู่ในกระบวนการรัฐสภาและเมื่อมีการตราเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะทำให้กรอบนโยบายการเงินมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และล่าสุดในวันที่ 2 กันยายน 2546 ธปท. ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงินชุดใหม่ โดยเป็นบุคคลภายใน 3 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเป็นที่ปรึกษา 4 คน
เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน

เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ
1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) 2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) 3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities)
1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายโดยเฉลี่ยรายปักษ์ (ซึ่งเริ่มต้นในวันพุธและสิ้นสุดในวันอังคารของสัปดาห์ที่สองถัดมา) เป็นสัดส่วนต่อค่าเฉลี่ยของฐานเงินฝากหรือหนี้สินในปักษ์ก่อนหน้า และสามารถโอนเงินสำรองบางส่วนข้ามปักษ์ได้
ฐานเงินฝาก/หนี้สินที่ต้องนำมารวมเพื่อคำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำรง ได้แก่ ยอดรวมเงินฝากทุกประเภท ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกำหนดใน 1 ปี และยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปรหรือมีอนุพันธ์ทางการเงินแฝงในปัจจุบัน อัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเท่ากับร้อยละ 6 ซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังต่อไปนี้
1. เงินฝากที่ ธปท. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1 (โดยในส่วนนี้ สามารถนับรวมเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ได้ไม่เกินร้อยละ 0.2)
2. เงินสดในมือธนาคารพาณิชย์ไม่เกินร้อยละ 2.5 และ
3. หลักทรัพย์ที่ปราศจากภาระผูกพันในส่วนที่เหลือ การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องจะคำนวณจากค่าเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดสินทรัพย์ทุกสิ้นวันในปักษ์นั้น การใช้ค่าเฉลี่ยนี้ ช่วยให้การบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน
การโอนสินทรัพย์สภาพคล่องข้ามปักษ์ (Carry-Over Provision) จะกระทำได้ในส่วนที่เป็นเงินฝากที่ ธปท. (เงินสำรอง) เท่านั้น โดยสามารถโอนข้ามปักษ์ได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินสำรองที่ต้องดำรง การโอนเงินสำรองข้ามปักษ์ทำได้ทั้ง 2 ด้าน กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์สามารถดำรงเงินฝากที่ ธปท. ได้ต่ำกว่าที่กำหนดในปักษ์นี้ และชดเชยปริมาณเงินสำรองที่ขาด ในปักษ์ถัดไป ในขณะเดียวกัน ธนาคารพาณิชย์ก็สามารถโอนเงินสำรองส่วนที่ดำรงเกินในปักษ์นี้ ไปนับเป็นส่วนหนึ่งของเงินสำรองที่ต้องดำรงในปักษ์ถัดไปได้ การโอนเงินสำรองข้ามปักษ์ได้จะช่วยลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินในช่วงวันสิ้นปักษ์ได้ดี

2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs) ในการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน ธปท. จะปรับสภาพคล่องโดยการเข้าทำธุรกรรมในตลาดการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับเงินสำรองของระบบสถาบันการเงิน (Banks' Reserves หรือ เงินฝากของสถาบันการเงินที่ ธปท.) และมีผลต่อเนื่องถึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน OMOs เป็นเครื่องมือหลักในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในการดูแลให้สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอต่อความต้องการของระบบธนาคารพาณิชย์ในการดำรงเงินสำรอง (สินทรัพย์สภาพคล่องในส่วนที่เป็นเงินฝากที่ ธปท.) และการชำระบัญชี (Demand for Settlement Balance)
ธปท. ดำเนินการผ่านเครื่องมือ OMOs หลัก 4 ช่องทาง คือ
2.1 การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Operations)
ธปท. ทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตร (ซึ่งเปรียบเสมือนกับการกู้เงิน หรือ การให้กู้เงิน โดยมีพันธบัตรเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน) เพื่อปรับสภาพคล่องแบบชั่วคราว โดยในปัจจุบัน ธปท. ทำธุรกรรมนี้ทั้งกับกลุ่มสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าของ ธปท. (Primary Dealers) และผ่านตลาดซื้อคืนของ ธปท.
ตลาดซื้อคืนของ ธปท.
ตลาดซื้อคืนของ ธปท. เป็นช่องทางหลักในการทำ OMOs โดย ธปท. จะดูดหรือปล่อยสภาพคล่องผ่านตลาดนี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และในขณะเดียวกัน ธปท. ก็ยังทำหน้าที่ เป็นตัวกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ จึงเท่ากับเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับทั้งผู้กู้และผู้ให้กู้ (Matched-Principal Broker)
ธปท. ดำเนินการผ่านตลาดซื้อคืนมาเป็นเวลากว่า 25 ปี นับตั้งแต่การก่อตั้งตลาดซื้อคืนในเดือนมีนาคม ปี 2522 การที่ ธปท. ทำหน้าที่เป็น matched-principal broker เท่ากับจำกัดความเสี่ยงทางด้านคู่ค้า (Counterparty Risk) ของสมาชิกตลาดซื้อคืนไปทั้งหมด โดยวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งตลาดซื้อคืนในขณะนั้น ก็เพื่อสร้างตลาดที่สถาบันการเงินสามารถใช้ปรับสภาพคล่องได้โดยสะดวก
ตลาดซื้อคืนดำเนินการโดยใช้ระบบการจับคู่คำเสนอซื้อขายอย่างต่อเนื่อง(Continuous Matching) ตามลำดับการเสนอก่อนหลัง (First-Come First-Serve) สมาชิกตลาดซื้อคืนจะโทรศัพท์มาที่ ธปท. เพื่อเสนอซื้อหรือเสนอขาย ระหว่างชั่วโมงซื้อขายประจำวัน (15.30 - 16.30 น.) โดยแจ้งจำนวนเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาของธุรกรรมที่ต้องการกู้/ให้กู้ ระบบจะจับคู่การเสนอซื้อและเสนอขายอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ร่วมตลาดสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยระหว่างชั่วโมงซื้อขายได้ แบบ Real-Time จากบริการข่าวตามสาย เช่น Reuters หน้า BOT15 และ web site ของ ธปท.
สมาชิกตลาดซื้อคืนในปัจจุบันมีจำนวน 58 ราย สถาบันการเงินที่มีสิทธิ์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกตลาดซื้อคืนได้ คือ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของตลาดซื้อคืน โดยในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ต้องหาเงินเพื่อใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือสถาบันการเงิน จึงกลายเป็นผู้กู้รายใหญ่ในตลาดซื้อคืน สำหรับพันธบัตรที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ในตลาดซื้อคืนประกอบด้วยพันธบัตรภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท. คิดธรรมเนียมค่านายหน้า (Principal Broker Fee) ร้อยละ 0.03 ต่อปีของมูลค่าธุรกรรม ธปท. ใช้ราคาตลาดในการคำนวณมูลค่าของพันธบัตรที่นำมาเป็นหลักประกัน โดยมีการคิดอัตราส่วนลด (Haircuts หรือ Initial Margins) ตามระยะเวลาของ (Maturity) ธุรกรรม และประเภทของพันธบัตร ธปท. เป็นผู้บริหารพันธบัตรที่ใช้เป็นหลักประกันให้แก่สมาชิก โดยพันธบัตรนั้นจะต้องอยู่ใน RP Pool และจะถูกกันไว้ว่าติดภาระเมื่อพันธบัตรนั้นถูกนำมาใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินในตลาดซื้อคืน (กล่าวคือ จะไม่มีการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของพันธบัตรไปเป็นผู้ให้กู้) สมาชิกที่ต้องการกู้เงินจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการโอนพันธบัตรที่จะใช้เป็นหลักประกันเข้า RP Pool
ระยะเวลาของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน ได้แก่ 1 วัน 7 วัน 14 วัน 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน โดยระยะที่มีธุรกรรมหนาแน่นคือ 1 วัน การชำระราคาจะเกิดขึ้นในวันเดียวกับที่ทำ ธุรกรรม หลังจากชั่วโมงซื้อขายสิ้นสุดแล้ว
การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาค
เดือนธันวาคม 2543 ธปท. เริ่มทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนของธปท. ในเดือนธันวาคม 2543 ธปท. เริ่มทำธุรกรรมซื้อคืน/ขายคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ควบคู่ไปกับการทำธุรกรรมผ่านตลาดซื้อคืนของธปท. โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยกระตุ้นและพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยรองรับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ในอนาคต ที่จะลดการทำ OMOs ผ่านตลาดซื้อคืนของ ธปท. นอกจากนี้ การทำธุรกรรมซื้อคืนแบบทวิภาคียังเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพและความโปร่งใสของการทำ OMOs ผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร
ธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีจะกระทำผ่าน Bilateral Primary Dealers (PDs) ที่ ธปท. แต่งตั้งขึ้น โดย ธปท. จะแจ้งให้ Bilateral PDs ทราบถึงรายละเอียดของธุรกรรมที่ ธปท. ประสงค์จะทำในวันนั้น (ปล่อยหรือดูดสภาพคล่อง ที่ระยะเวลาเท่าใด) ก่อนเวลา 9.30 น. ผ่าน Web Portal (ช่องทางสื่อสารผ่านอินเตอร์เนตที่ปลอดภัย) PDs มีเวลา 15 นาทีในการเสนอซื้อหรือขายพันธบัตร และ ธปท. จะแจ้งผลการประมูลภายใน 10.00 น. การชำระราคาและโอนพันธบัตรจะต้องเสร็จสิ้นภายใน 14.00 น. ของวันเดียวกัน
ธปท. ทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีได้ทั้ง 2 ลักษณะ คือ Fixed-Rate Tender และ Variable-Rate Tender โดยหาก ธปท. ประสงค์จะทำธุรกรรมระยะ 1 วัน ธปท. จะกู้หรือให้กู้ที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่านั้น (Fixed-Rate Tender) เพื่อเป็นการเสริมการส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกรณีนี้ PDs จะเสนอซื้อขายโดยระบุเพียงปริมาณเท่านั้น แต่หาก ธปท. ต้องการดูดหรือปล่อยสภาพคล่องในระยะอื่นๆ PDs จะเสนอซื้อขายเข้ามา โดยระบุทั้งปริมาณและอัตราดอกเบี้ย
ธปท. ได้ออกแบบธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีนี้ ให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล เช่น การคิดส่วนลด (Haircuts) และการเรียก Margin เพิ่ม (Margin Calls) และการปรับมูลค่าพันธบัตรตามราคาตลาด (Marking to Market) เป็นต้น
ธปท. มุ่งที่จะทยอยเพิ่มความสำคัญของธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีในการทำ OMOs ในการนี้ ธปท. ได้ทำธุรกรรมดังกล่าวบ่อยครั้งขึ้นและในจำนวนที่มากขึ้น และเริ่มทำธุรกรรมทุกวันตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ปริมาณธุรกรรม Bilateral repo ในปี 2549 เท่ากับ 2,652,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 6 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 9.8 ของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน เทียบกับปีก่อนหน้าที่ธุรกรรม Bilateral repo มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.6 ของธุรกรรมในตลาดซื้อคืน โดย ธุรกรรมส่วนใหญ่เป็นประเภท 1 วัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 ของธุรกรรม Bilateral repo ทั้งหมด ในขณะที่สัดส่วนของธุรกรรมประเภท 7 วัน และ 14 วันอยู่ที่ร้อยละ 35 และ 20 ตามลำดับ

2.2 การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล
ธปท. สามารถปรับสภาพคล่องในระบบเป็นการถาวรโดยการซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลกับ Outright Primary Dealers โดยปกติ ธปท. จะปล่อยสภาพคล่อง ผ่านช่องทางนี้เพื่อรองรับเงินสดหมุนเวียนในระบบที่เพิ่มขึ้นอย่างถาวรตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน ธปท. สามารถทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลได้ดีขึ้น จากการที่ตลาดตราสารหนี้ไทยได้พัฒนาขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
ในการทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดนี้ ธปท. จะแจ้งให้ Outright PDs ทราบผ่านระบบ Reuters Dealing ก่อนเวลา 10.00 น. ว่า ธปท. มีความประสงค์จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์รุ่นใดในวันนั้น โดย PDs มีเวลา 30 นาทีในการยื่นข้อเสนอซื้อขายโดยต้องระบุปริมาณและอัตราผลตอบแทน (yields) ธปท. ใช้ระบบ multiple-priced auction ในการจัดสรร และจะแจ้งผลภายในเวลา 12.00 น. การโอนกรรมสิทธิ์และการชำระราคาจะเกิดขึ้นใน 2 วันถัดมา แม้ว่าหลักทรัพย์ที่ ธปท. สามารถซื้อขาดขายขาดได้จะรวมถึงตราสารหนี้ภาครัฐและตราสารหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันทุกประเภท ธปท. ได้ดำเนินการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นตลาดพันธบัตรที่มีสภาพคล่องสูงสุด

2.3 การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อต้นปี 2546 เพื่อใช้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารสภาพคล่องในตลาดเงิน
ธปท. เป็นผู้กำหนดวงเงินการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ละประเภท โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับภาวะตลาดในแต่ละช่วง และคำนึงถึงกำหนดการออกพันธบัตรภาครัฐด้วย ธปท. จะประกาศตารางการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนใน website ของ ธปท.
พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย จะจำหน่ายโดยวิธีการประมูลแบบแข่งขันราคา (Competitive Multiple-Priced Auctions) ในวันอังคาร และผู้ชนะประมูลพันธบัตรจะต้องชำระราคาในวันทำการที่สองถัดจากวันประมูล (วันพฤหัส) สำหรับผู้มีสิทธิ์เข้าประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย นั้น จะเป็นกลุ่มเดียวกับผู้มีสิทธิ์ประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต และสถาบันอื่นๆ ที่มีบัญชีเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุเกินกว่าหนึ่งปี จะจําหน่ายโดยวิธีประมูลแบบแข่งขันราคาและแบบไม่แข่งขันราคา ผู้มีสิทธิประมูลแบบไม่แข่งขันราคา ได้แก่ มูลนิธิ สหกรณ์ นิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล การศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา สาธารณประโยชน์ อื่น ๆ โดยมิได้มุ่งหวังประโยชน์มาแบ่งปันกัน ตั้งแต่ปี 2546 พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นประเภทอายุไม่เกิน 1 ปี ในปี 2548 ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรอายุ 2 ปีอย่างต่อเนื่อง และในปี 2550 ธปท. ได้เริ่มออกพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ยอดคงค้างพันธบัตร ธปท. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 980,702 ล้านบาท

2.4 สวอปเงินตราต่างประเทศ
สวอปเงินตราต่างประเทศ (foreign exchange swaps) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ปรับสภาพคล่องในตลาดเงิน สวอปเป็นเครื่องมือ OMOs ที่เสริมกันได้ดีกับเครื่องมือ OMOs อื่น ๆ ที่ใช้ตราสารหนี้ในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่ตราสารหนี้ในประเทศมีจำนวนน้อย ธุรกรรมสวอปเงินตราต่างประเทศมีลักษณะคล้ายกับธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร แต่แตกต่างกันตรงที่เงินบาทถูกแลกเปลี่ยนกับเงินตราต่างประเทศ (ดอลลาร์ สรอ.) มิใช่ตราสารหนี้ในประเทศ
ธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่ต้องการสภาพคล่องเงินบาทสามารถยื่นข้อเสนอต่อ ธปท. ผ่าน Web Portal ก่อนเวลา 13.30 น. โดยระบุจำนวนเงินที่ต้องการทำสวอป อายุสัญญา และ swap points ธปท. จะแจ้งผลให้ธนาคารพาณิชย์นั้นทราบภายหลังที่ได้ประเมินภาวะสภาพคล่องโดยรวมในตลาดเงิน ส่วนใหญ่การชำระเงินจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วันทำการถัดมา ยกเว้นในกรณีพิเศษ ธปท. อาจอนุญาตให้มีการชำระเงินภายในวันเดียวกัน (ในกรณีที่ ธปท. ทำธุรกรรม buy-sell swap คือซื้อดอลลาร์ สรอ. และขายบาทเพื่อปล่อยสภาพคล่องให้แก่ ธพ.)
นอกจากนี้ ธปท. ยังทำธุรกรรม Sell-Buy สวอป เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ กับธนาคารพาณิชย์ทั้งในประเทศ (onshore) และต่างประเทศ (offshore) โดยทั่วไปแล้ว ธปท. จะทำธุรกรรม Sell-Buy สวอป เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการดูดซับสภาพคล่องผ่านธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร โดย ธปท. อาจติดต่อกับธนาคารพาณิชย์โดยตรงหรือติดต่อผ่านนายหน้า (brokers) และสามารถทำธุรกรรมได้ตลอดวัน สำหรับการชำระเงินใน 1-2 วันทำการถัดมา
อายุสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศมีตั้งแต่ 1 วันถึง 1 ปี แต่โดยทั่วไปการทำ OMOs ผ่านธุรกรรมสวอป มักจะเป็นระยะสั้นไม่เกิน 3 เดือน

3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing facilities)
ธปท. มีหน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (End-of-Day Liquidity Adjustment Window) ซึ่งเป็นช่องทางที่สถาบันการเงินสามารถกู้หรือให้กู้แก่ ธปท. ได้ เพื่อปรับสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ในช่วงสิ้นวัน โดยสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องสามารถเข้ามากู้ยืมเงินกับ ธปท. โดยมีพันธบัตรเป็นหลักประกัน หรือในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องส่วนเกิน ก็สามารถเข้ามาลงทุนกับ ธปท. โดย ธปท. จะออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้เพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างปรับสภาพคล่องสิ้นวันจะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยนโยบายบวกหรือลบด้วยส่วนต่าง (Margin) ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการกู้ยืมจาก ธปท. หรือ ปล่อยกู้ให้ ธปท. โดยในปัจจุบัน ธปท. กำหนดส่วนต่างให้เท่ากับ +/- ร้อยละ 0.5 ซึ่ง ณ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันจะอยู่ที่ร้อยละ 4.0-5.0 ต่อปี การกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้อิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งด้านบวกและลบนั้น ก็เพื่อสร้างกลไกที่จะจำกัดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยตลาดให้อยู่ในระดับที่รับได้ แต่ในขณะเดียวกันยังคงกรอบความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยให้กว้างพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินปรับสภาพคล่องระหว่างกันในตลาดตามปกติ
สำหรับการเสริมสภาพคล่อง ณ สิ้นวันให้กับสถาบันการเงินที่มาขอกู้ผ่านหน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวันนั้น แม้จะไม่มีการจำกัดวงเงินกู้รายสถาบัน แต่หลักทรัพย์ค้ำประกันของสถาบันการเงินจะเป็นตัวจำกัดวงเงินกู้โดยปริยาย ซึ่งการเสริมสภาพคล่องสิ้นวันในลักษณะนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของระบบบาทเน็ตซึ่งเป็นระบบการชำระเงินแบบ RTGS (Real Time Gross-Settlement) ที่มีการให้กู้ยืมแบบไม่เสียดอกเบี้ยผ่าน Intraday Liquidity Facility (ILF) เพื่อหล่อลื่นระบบการชำระเงินระหว่างวัน ในกรณีที่สถาบันการเงินชำระคืน ILF มิได้ภายในสิ้นวัน จะจำเป็นต้องกู้เงิน ILF ข้ามคืน (Spill-over)โดยจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันกับอัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันเปรียบเสมือนกับสถาบันการเงินนั้นได้ขอกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน สำหรับพันธบัตรที่สถาบันการเงินสามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันการกู้ยืมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันเป็ประเภทเดียวกับพันธบัตรที่ใช้ในธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร ซึ่งได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย โดย ธปท. จะใช้ haircuts ในอัตราร้อยละ 10 กับพันธบัตรทุกประเภท
ทั้งนี้ ธุรกรรมผ่านหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันทั้งด้านกู้และให้กู้จะเป็นธุรกรรมระยะข้ามคืนที่มีการชำระเงินภายในวันเดียวกัน (Same-Day Settlement) เปิดบริการให้กับสถาบันการเงินทุกแห่งที่มีบัญชีเงินฝากที่ ธปท. ได้แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ โดยสามารถทำธุรกรรมได้ระหว่าง 16.30 -17.30 ของทุกวันทำการ ยกเว้นในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง อาจต้องขยายเวลาปิดของหน้าต่างปรับสภาพคล่องสิ้นวันออกไปตามระบบการชำระเงิน
แม้ว่าปริมาณการปรับสภาพคล่องผ่านหน้าต่างนี้จะมีค่อนข้างน้อย แต่การมีหน้าต่างนี้เป็นกลไกสำคัญ ที่ช่วยรักษาเสถียรภาพในตลาดเงิน โดยทำหน้าที่เป็น safety valve ของระบบ และอัตราดอกเบี้ยของหน้าต่างนี้จะเป็นเสมือนขอบเขตจำกัดความผันผวนด้านบน (Cap) และด้านล่าง (Floor) ของอัตราดอกเบี้ยระยะข้ามคืนในตลาด (Interest Rate Corridor)

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

โผ คณะรัฐมนตรี ที่ขึ้นทูลเกล้าฯ วันนี้

1. นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

2. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
3. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง
5. นายสหัส บัณฑิตกุล คนใกล้ชิดนายสมัคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
6. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย เป็นรองนายกรัฐมนตรี
7. นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

8. นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

9. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง
10. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง ส.ส. ฉะเชิงเทรา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง

11. นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
12. นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำ นปก. เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
13. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

14. นายสุธา ชันแสง ส.ส.กทม. ตัวแทนภาค กทม.ในกลุ่มของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
15. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

16. นายกมล จิระพันธุ์วาณิช ส.ส.ลพบุรี พรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

17. นายธีระชัย แสนแก้ว ส.ส.อุดรธานี กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

18. นายสันติ พร้อมพัฒน์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน สายตรงคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
19. นายทรงศักดิ์ ทองศรี ส.ส.บุรีรัมย์ กลุ่มนายเนวิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
20. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
21. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
22. นายมั่น พัธโนทัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน โควตากลุ่มปากน้ำ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
23. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน โควตาภาคเหนือ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
24. พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

25. พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ ภรรยานายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

26. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1)

27. นายสุพล ฟองงาม ส.ส.อุบลราชธานี พรรคพลังประชาชน กลุ่มของนายเนวิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2)
28. นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ ตัวแทนกลุ่มนายพินิจ จารุสมบัติ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.3)
29. ร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ภรรยาว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำกลุ่มโคราช ในพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.4)
30. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
31. นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
32. นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ส.ส.ลำพูน พรรคพลังประชาชน โควตาภาคเหนือ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
33. นายพงศกร อรรณนพพร อดีต ส.ส.ขอนแก่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนายเนวิน ได้เป็นรัฐมนตีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

34. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชาชน โควตาภาคกลาง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
35. นายไชยา สะสมทรัพย์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
36. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล บิดานายอนุทิน ชาญวีรกูล อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ผลล่าสุด15.00 น.ศึก Super Tuesday "ฮิลลารี"ได้ delegate นำ"โอบามา"

15:19 น.
คณะผู้แทน (delegates) จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกว่าใครจะได้เป็นตัวแทนของพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยคณะผู้แทนจะเลือกตัวผู้สมัครเป็นตัวแทนพรรคในการประชุมพรรคระดับประเทศในเดือนส.ค.และก.ย.ปีนี้ ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีจะมีขึ้นในวันที่ 4 พ.ย.
สมาชิกพรรคจะทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกคณะผู้แทนในแต่ละรัฐ
ถึงแม้การหยั่งเสียงขั้นต้นใน 24 รัฐในวันที่ 5 ก.พ.หรือ Super Tuesday ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าใครจะได้เป็นตัวแทนของแต่ละพรรค แต่ผู้ที่ทำคะแนนได้ดีในครั้งนี้ก็มีแนวโน้มสูงที่จะได้รับชัยชนะ เนื่องจากมีการเลือกคณะผู้แทนราวครึ่งหนึ่งของพรรคเดโมแครต และกว่า 40 % ของพรรครีพับลิกันในวัน Super Tuesday
ล่าสุด ณ เวลา 15.00 น.จำนวนคณะผู้แทนที่ผู้สมัครแต่ละรายได้รับในขณะนี้คือ:-
พรรคเดโมแครต (ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องมีเสียงของคณะผู้แทนอย่างต่ำ 2,025 เสียง)
--นางฮิลลารี คลินตัน 708 เสียง
--นายบารัค โอบามา 605 เสียง

ขณะนี้นางฮิลลารีมีจำนวนคณะผู้แทนมากกว่านายโอบามา แม้ว่าคว้าชัยชนะในการหยั่งเสียงในวันนี้เพียง 8 รัฐ เทียบกับนายโอบามาที่ได้ 13 รัฐ เนื่องจากนางฮิลลารีสามารถคว้าชัยชนะในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นรัฐใหญ่ของสหรัฐที่มีคณะผู้แทนจำนวนมาก
พรรครีพับลิกัน (ผู้ได้รับการเสนอชื่อต้องมีเสียงอย่างต่ำ 1,191 เสียง)
--นายจอห์น แมคเคน 522 เสียง
--นายมิทท์ รอมนีย์ 223 เสียง
--นายไมค์ ฮัคคาบี 142 เสียง
วิธีการแบ่งสัดส่วนคณะผู้แทน:
เนื่องจากพรรคเดโมแครตแบ่งจำนวนคณะผู้แทน (delegate) ให้กับผู้สมัคร (candidate) แต่ละรายตามสัดส่วนคะแนนที่ผู้สมัครแต่ละรายได้รับในการลงคะแนนในแต่ละรัฐหรือการลงคะแนนในเขตรัฐสภา ดังนั้นผู้สมัครที่พ่ายแพ้การ
เลือกตั้งในรัฐหนึ่งจึงยังคงได้รับจำนวนผู้แทนในรัฐนั้นบางส่วน
ในทางตรงกันข้าม การหยั่งเสียงส่วนใหญ่ของพรรครีพับลิกันยึดหลักที่ว่า ผู้ชนะจะได้ครอบครองคณะผู้แทนทั้งหมดในแต่ละรัฐ (winner-take-all) ด้วยเหตุนี้ นายจอห์น แมคเคน ซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกรัฐอริโซนาจึงมีโอกาสที่จะทำคะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่งคนอื่นๆ
นอกเหนือจากคณะผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งในแต่ละรัฐแล้ว จะมีคณะผู้แทนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกกันว่า super delegates ซึ่งจะเข้าร่วมในการประชุมใหญ่ของพรรคด้วย โดย super delegates นี้ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภา, เจ้าหน้าที่ระดับรัฐที่มาจากการเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่นๆในพรรค ทั้งนี้ super delegates ไม่มีภาระผูกพันต่อผู้สมัครรายใด ดังนั้นจึงสามารถสนับสนุนผู้สมัครคนใดก็ได้ตามต้องการ

ผลคาดการณ์ผู้ชนะในการหยั่งเสียงล่าสุด ณ เวลา 12.14 น.ตามเวลาไทยในวัน Super Tuesday ซึ่งมีการลงคะแนนใน 24 รัฐเพื่อหาตัวแทนของพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 4 พ.ย. เป็นดังนี้:
-พรรคเดโมแครต-
-นางฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ค
รัฐอริโซนา
รัฐอาร์คันซอส์
รัฐแมสซาชูเซตส์
รัฐนิวยอร์ค
รัฐโอกลาโฮมา
รัฐเทนเนสซี
รัฐนิวเจอร์ซี
รัฐมิสซูรี
รัฐแคลิฟอร์เนีย-
-นายบารัค โอบามา วุฒิสมาชิกรัฐอิลลินอยส์
รัฐจอร์เจีย
รัฐอิลลินอยส์
รัฐเดลาแวร์
รัฐอลาบามา
รัฐแคนซัส
รัฐนอร์ธ ดาโกตา
รัฐยูทาห์
รัฐคอนเนคติกัต
รัฐมินนีโซตา
รัฐโคโรลาโด
รัฐไอดาโฮ

พรรครีพับลิกัน-
-นายจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกรัฐอริโซนา
รัฐคอนเนกติกัต
รัฐเดลาแวร์
รัฐอิลลินอยส์
รัฐนิวเจอร์ซีย์
รัฐนิวยอร์ค
รัฐโอกลาโฮมา
รัฐอริโซนา
รัฐมิสซูรี-
-นายไมค์ ฮัคคาบี อดีตผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอส์
รัฐอลาบามา
รัฐอาร์คันซอส์
รัฐเวสท์ เวอร์จิเนีย
รัฐจอร์เจีย
รัฐเทนเนสซี-
-นายมิทท์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์
รัฐแมสซาชูเซตส์
รัฐนอร์ธ ดาโกตา
รัฐยูทาห์
รัฐมอนตานา
รัฐมินนีโซตา
รัฐโคโลราโด

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

"Super Tuesday"





วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์จะเป็นวันที่มีความสำคัญมากที่สุดวันหนึ่งของการชิงชัยเพื่อให้พรรคการเมืองใหญ่สองพรรคส่งเป็นตัวแทนลงชิงชัยตำแน่งประธานาธิบดีอเมริกัน
กว่า 20 รัฐจะจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้น หรือการเลือกตั้งแบบคอคัส หรือการประชุมใหญ่ระดับรัฐเพื่อเลือกผู้แทนพรรคไปร่วมการประชุมใหญ่ระดับชาติเพื่อเสนอชื่อผู้แทนพรรคที่จะลงชิงชัยตำแหน่งประ ธานาธิบดีในระยะหลังของปีนี้
ทางฝ่ายพรรคเดโมแครต ผู้ชิงชัยคนสำคัญที่เหลืออยู่คือ ส.ว. ฮิลลารี คลินตัน และ ส.ว. บารัก โอบามาจะชิงชัยใน 22 รัฐ ซึ่งมีผู้แทนรวมกัน 1,681 คนเป็นเดิมพันในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ การที่จะได้เป็น ตัวแทนพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนของผู้แทนจำ นวน 2,025 คนในการประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคเดโมแครตที่รัฐโคโลราโดตอนปลายเดือนสิงหา คม
ส.ว.บารัก โอบามาอ้างตัวว่าเป็นทางเลือกที่ชัดเจน ซึ่งจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สหรัฐในเมื่ออดีตส.ว. จอห์น เอ็ดเวิร์ดถอนตัวจากการชิงชัยไปแล้ว เขากล่าวว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีผู้นำรุ่นใหม่ ส่วนส.ว. ฮิลลารี คลินตันตอบโต้ด้วยการเน้นย้ำในเรื่องประสบการณ์ เธอกล่าวด้วยว่าในวันอังคาร รัฐจอร์เจียและรัฐอื่นๆจะต้องตัดสินใจว่าใครเหมาะที่จะเป็นประธานาธิบดีมากที่สุดตั้งแต่ต้นเพื่อสนองรับการท้าทายและการฉวยโอกาสสร้างผลงานต่างๆ ส.ว.คลินตันมุ่งพยายามหาเสียงตามรัฐใหญ่ๆ เช่นแคลิฟอร์ เนีย นิวยอร์กและนิวเจอร์ซีย์ ผลของการสำรวจความเห็นของประชาชนบ่งชี้ว่าส.ว. คลินตันได้คะเเนนนิยมนำในรัฐเหล่านั้น
ส.ว.โอบามาหวังว่าจะได้คะแนนเสียงในเกณฑ์ดีที่รัฐอิลลินอยส์ซึ่งเขาเป็นตัวแทนในวุฒิสภาอเมริ กันและที่รัฐแมสสาจูเซทส์ ซึ่งส.ว.อเมริกันของรัฐนั้นคือ ส.ว.เท็ด เคนเนดี และส.ว.จอห์น เคร์รีย์ต่างสนับสนุนเขา
กองหาเสียงของส.ว.โอบามายังมุ่งเป้าไปที่รัฐซึ่งเล็กกว่านั้นในภาคใต้ ภาคกึ่งตะวันตกและที่อยู่ทางบริเวณที่ราบด้วย
พรรคเดโมแครตใช้ระบบแบ่งจำนวนผู้แทนเป็นสัดส่วน ซึ่งหมายถึงว่าผู้สมัครที่ไม่ชนะการเลือกตั้งขั้นต้นหรือคอคัส จะยังคงได้ส่วนแบ่งผู้แทนที่จะไปร่วมประชุมใหญ่ระดับชาติเพื่อเสนอชื่อตัวแทนพรรคนั้นไปบางส่วน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเรื่องข้างต้นทำให้การชิงชัยภายในพรรคเดโมแครตมีท่าทางว่าจะยืดเยื้อต่อไปหลังวันที่ 5 กุมภาพันธ์
ผู้ชิงชัยภายในพรรครีพับลิกันที่ยังเหลืออยู่ต้องเข้าชิงชัยในการเลือกตั้งขั้นต้นแบบนั้นในวันที่ 5 กุมภาพันธ์เช่นกัน
ตอนนี้อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลนครนิวยอร์ก รูดี้ ยุยลิอานี และผู้ว่ารัฐการรัฐแคลิฟอร์เนียอาร์โนลด์ ชวอซเซนเนกเก้อร์หันมาสนับสนุนส.ว. จอห์น แมคเคน คู่แข่งคนอื่นๆของส.ว.จอห์น แมคเคนได้แก่อดีตผู้ว่ารัฐการรัฐแมสสาจูเซทส์ มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่ารัฐการรัฐอาร์คันซอว์ไม๊ค์ ฮักกาบีและส.ส.อเมริ กัน จอห์น พอล ซึ่งล้วนแต่ได้คะแนนนิยมเป็นรอง
ผลของการสำรวจความเห็นของประชาชนครั้งล่าสุดบ่งชี้ว่ารัฐใหญ่บางส่วนรวมทั้งแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก และนิวเจอร์ซีย์นั้น ส.ว.แมคเคนได้คะแนนนิยมนำ
ในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้แทนที่เป็นเดิมพันในการชิงชัยสรรหาผู้แทนพรรครีพับลิกันใน 21 รัฐมีจำนวน 1 พันกว่าคน ผู้ที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันนั้นจะต้องได้เสียงของผู้แทนที่มาร่วมการประชุมระดับชาติของพรรคที่รัฐมินเนโซตาตอนต้นเดือนกันยายนนั้น 1,191 เสียง
ขณะนี้ ส.ว.อเมริกันจากรัฐอริโซนาจอห์น แมคเคนได้คะแนนนำทางฝ่ายพรรครีพับลิกันหลังจากเขาชนะการเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐฟลอริดา การชิงชัยสรรหาผู้แทนพรรคเพื่อลงชิงชัยตำแน่งประธา นาธิบดีอเมริกันในนามพรรครีพับลิกันอาจยุติลงเร็วกว่าทางฝ่ายพรรคเดโมแครตเพราะการเลือกตั้งขั้นต้นของฝ่ายรีพับลิกันนั้นใครชนะก็จะได้ผู้แทนทั้งหมดของรัฐนั้นไปครอง






นายโบรัค โอบามา วุฒิสมาชิกรัฐอิลลินอยส์ มีคะแนนนิยมเขยิบเข้าใกล้นางฮิลลารี คลินตัน วุฒิสมาชิกรัฐนิวยอร์ก ในการแข่งขันชิงเก้าอี้ตัวแทนพรรคเดโมแครตเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงปลายปีนี้



ผลสำรวจกัลลัพ โพล ครั้งล่าสุดที่มีการเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ พบว่า 44% ของผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศที่สนับสนุนพรรคเดโมแครตหรือมีแนวโน้มจะเลือกพรรคเดโมแครต นิยมชมชอบคลินตันมากกว่า ขณะที่โอบามามีคะแนนนิยม 41% ก่อนที่ศึกเลือกตั้งขั้นต้นทั้งแบบ primaries และ caucuses ครั้งใหญ่พร้อมกันมากกว่า 20 รัฐ หรือที่เรียกว่า "Super Tuesday" จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า โดยเมื่อเกือบสองสัปดาห์ก่อน คลินตันมีคะแนนนำโอบามาถึง 20% ข้างรีพับลิกัน ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า วุฒิสมาชิกจอห์น แม็คเคนจากรัฐอาริโซน่า ได้รับคะแนนสนับสนุน 39% จากผู้มีสิทธิออกเสียงที่สนับสนุนหรือโอนเอียงไปทางพรรครีพับลิกัน ซึ่งได้เปรียบอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์อย่างนายมิตต์ รอมนีย์ ที่มีอยู่ 24% และนายไมค์ ฮัคคาบี อดีตผู้ว่าการรัฐอาร์แคนซอส์ ที่มีอยู่ 17% ศึกสรรหาตัวแทนของทั้งสองพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนพ.ย.นี้ เริ่มแคบลง เมื่อนายจอห์น เอ็ดเวิร์ด อดีตวุฒิสมาชิกจากนอร์ท แคโรไลนา ได้ประกาศถอนตัวจากการลงชิงชัยเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต และอดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก รูดี้ จูเลียนี่ ประกาศถอนตัวจากการแข่งขันเป็นตัวแทนพรรครีพับลิกันเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ขณะที่การแข่งขันในฝั่งเดโมแครตนั้น คลินตันและโอบามายังคงมีคะแนนสูสีคู่คีกัน แต่ในฝั่งรีพับลิกัน นายแม็คเคนเป็นตัวเก็งเดี่ยวๆ หลังจากที่เขาเบียดรอมนีย์คว้าชัยในการเลือกตั้งขั้นต้นที่รัฐฟลอริด้าเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ผลสำรวจกัลลัพ โพลล่าสุดนี้ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีสิทธิออกเสียงที่สนับสนุนพรรคเดโมแครตจำนวน 1,249 คน และผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน 1,035 คน โดยผลอาจขาดเคลื่อนบวกลบที่ 3 จุด

Super Tuesday (ซู้เพอร์ ถู่สเด่ย์) ปีนี้เป็นวันที่คอการเมืองอเมริกันรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ เพราะเป็นวันที่จะมีส่วนสำคัญในการตัดสินโชคชะตาของผู้แข่งขันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ความจริง Super Tuesday ปีนี้มีสองวันนะครับ วันแรกก็คือวันนี้นี่แหละ (5 กุมภาพันธ์) ส่วน Super Tuesday อีกวันคือ 4 มีนาคม วันนี้ไม่ใช่ Super Tuesday ธรรมดา เพราะมีรัฐถึง 24 รัฐพากันจัด primary (พร้ายแหม่หรี่) หรือ caucus (ค้อขัส) คัดผู้สมัครส่งเป็นตัวแทนพรรคเข้าไปแข่งในเวทีใหญ่ (คงจำได้นะครับว่า caucus ไม่ใช่การเลือกตั้งแต่เป็นกระบวนการคัดสรรอีกแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐว่าจะจัดอย่างไร) เป็น Super Tuesday ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพราะมีกว่าครึ่งของ delegates พรรคเดโมแครต และเกือบครึ่งของพรรครีพับลิกันเป็นเดิมพัน (delegates = ผู้แทนพรรค ที่ไปเข้าร่วมประชุม national convention เพื่อเลือก nominee ของพรรคอย่างเป็นทางการ) พูดง่าย ๆ ใครชนะ Super Tuesday นี้ก็มีหวังลอยลำเป็น nominee ของพรรคสบาย ๆ ผู้สันทัดกรณีบางคนจึงขนานนาม Super Tuesday นี้ว่า Super Duper Tuesday บ้าง Giga Tuesday บ้าง Tsunami Tuesday บ้าง เพื่อให้เห็นว่ามันยิ่งใหญ่กว่า Super Tuesday ธรรมดา 4 มีนาคมจึงกลายเป็น Super Tuesday ที่จะไม่ค่อยมีใครสนใจแล้ว เพราะมีเพียง 4 รัฐที่จะจัดการเลือกตั้งชั้นต้นในวันนั้น สำนวนที่เห็นบ่อย ๆ เวลามีการกล่าวถึง delegates วันนี้คือ up for grabs Grab (แกร้บ) แปลว่า จับด้วยมือเต็ม ๆ เช่น The pervert grabbed my behind, so I turned around and kneed him in the groin. = อีตาวิตถารนั่นจับก้นฉัน ฉันก็เลยหันหลังกลับไปแล้วอัดเข่าเข้าไปที่เป้า ของเขา หรืออาจแปลว่า คว้าจับ เช่น She grabbed his hand just in time as she lost her footing. = เธอคว้ามือเขาได้ทันพอดีพร้อม ๆ กับที่เธอเสียหลักหกล้ม หรือยังแปลได้อีกว่า เข้าไปช่วงชิงยึดครอง เช่น Despite all the fine words, it was a grab for power, pure and simple. = แม้จะมีคำพูดสวยหรู มันก็เป็นการช่วงชิงอำนาจดี ๆ นี่เอง ส่วน up for grabs (อย่าลืม s นะครับ) แปลว่า พร้อมที่จะถูกช่วงชิง โดยทุกคนมีสิทธิเข้ามาช่วงชิง เช่น A huge number of delegates are up for grabs today. = วันนี้มี delegates จำนวนมากที่เปิดให้ทุกคนเข้ามาช่วงชิงได้.
บ๊อบ บุญหด http://boonhod.50megs.com/

when i was young

when i was young
like a boy

จัดให้เต็มๆ

จัดให้เต็มๆ
มองไรนักหนา ไม่เคยเห็นคนน่ารักไง คนไรก็ไม่รู้